วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 1

ประโยชน์ของ google

ในการบริการ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม โดยแบ่งออกตามความสามารถในการทำงานในด้านต่างๆ ดังนี้
1. บริการในกลุ่มดัชนีค้นหา(Search Engines) Google Web Search Features ประกอบด้วยบริการค้นหาต่อไปนี้
 Book Search : บริการค้นหาหนังสือแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นบริการใหม่ของ Google ที่เพิ่งเปิดให้บริการกับแฟนหนังสือโดยเฉพาะ
Cached Links :บริการช่วยจับประเด็นหรือหัวเรื่องสำคัญของเว็บไซต์ที่คุณต้องการจะค้นหา
 Calculator : เครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่คุณสามารถตั้งตัวเลข โดยคีย์ลงในช่องค้นหาของ Google แล้วคลิ้กหาคำตอบที่ต้องการได้เลย
 Currency Conversion : บริการแปลงหน่วยมาตราเงินสำหรับระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา
 Definitions : หมวดคำศัพท์ที่คุณสามารถค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย
 File Types : ดัชนีค้นหาสินค้าออนไลน์ทั่วทุกมุมโลก
 Groups : ถ้าหากว่าคุณอยากรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีคนโพสต์กันบนเว็บไซต์ สามารถค้นหาได้จากบริการนี้
 I ‘m Feeling Lucky : ปุ่มบริการดัชนีค้นหาที่ช่วยให้ค้นหาเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว และตรงประเด็น โดยข้ามลิงก์ของเว็บไซต์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ถูกตัดออกไป
 Images :ระบบดัชนีค้นหารูปภาพที่คลิกได้ง่าย และเร็วทันใจ
 Local Search : บริการค้นหาธุรกิจและบริการต่าง ๆ ที่เปิดในสหรัฐ อังกฤษ และแคนาดา
 Movie : คุณสามารถเข้าไปดูรีวิวภาพยนตร์หรือว่าตารางโปรแกรมฉายแบบเรียลไทม์ได้จากฟีเจอร์นี้
 Music Search : ดัชนีค้นหาเพลงหรือว่าดนตรีที่มีให้บริการฟังเพลงออนไลน์หรือว่าดาวน์โหลดเพลงจากทั่วโลก
 News Headlines : บริการที่ทำให้คุณสารารถรู้ข้อมูลข่าวสารทันในที่ส่งมาจากรอบโลกแบบเรียลไทม์
 Phone Book : บริการค้นหาเบอร์โทรศัพท์และเลขที่บนท้องถนนของสหรัฐอเมริกา
 Q&A : บริการใหม่ที่คุณอยากรู้อะไรเกี่ยวกับ Google บริการนี้ตอบปัญหาให้คุณได้ทุกเรื่อง
 Similar Pages : บริการแสดงหน้าเว็บเพจที่แสดงผลในหน้าเว็บที่เกี่ยวข้อง
 Site Search : กำหนดขอบเขตของการค้นหาเว็บไซต์ให้แคบลง
 Spell Checker : เครื่องมือช่วยในการสะกดคำ
 Stock Quotes : ดัชนีค้นหาสำหรับราคาหุ้นแบบเรียลไทม์
 Travel Information : บริการตรวจสอบสายการบินในสหรัฐ รวมถึงรายงานสภาพอากาศของสนามบิน
 Weather : บริการตรวจสอบสภาพอากาศและการพยากรณ์อากาศในทุกรัฐของสหรัฐ
 Web Page Translation : บริการแปลหน้าเอกสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาอื่น ๆ
2. บริการในกลุ่ม Google Services
 Alerts : Answer : บริการแจ้งเตือนข่าวสารและผลการค้นหาผ่านอีเมล์แบบออนไลน์ บริการตอบคำถามให้กับคุณได้ทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ โดยนักวิจัยชื่อดังกว่า 500 คน
 Blog Search : บริการค้นหาหัวข้อเรื่องที่เป็น Blog
 Catalogs : ในประเด็นที่คุณสนใจ บริการค้นหารายการสินค้าที่คุณสนใจและต้องการจะสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์
 Directory : บริการค้นหาสาระสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์
 Labs : บริการใหม่ ๆ ของ Google ที่คุณสามารถเข้าไปทดสอบใช้งานได้ฟรี ก่อนที่จะออกมาเป็นชุดเต็มของโปรแกรม
 Mobile : บริการหลักของ Google ที่สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่องโทรศัพท์มือถือ เช่น บริการดัชนีค้นหาเอกสาร รูปภาพ หรือส่ง SMS
 News : บริการรายงานข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ จากทั่วทุกมุมโลกที่มีให้คุณได้อ่านก่อนใคร
 Scholar : บริการค้นหาเอกสารงานวิจัยใหม่ ๆ รวมทั้งบทคัดย่อจากห้องสมุดใหญ่ ๆ มากมาย
 Special Searches : บริการค้นหาประเด็นสาธารณะในส่วนที่เป็นองค์กร หรือว่าสถาบันที่ไม่หวังผลกำไรต่างๆ รวมถึงบริการค้นหาเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดในเรื่องของหลักสูตรการสอนและระเบียบวิธีการเข้าศึกษาต่อทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
 Video : บริการค้นหารายการทีวีทางโทรทัศน์ เกมโชว์ มิวสิควิดีโอ ที่คุณสามารถเช่าชั่วโมงมาดูกันแบบออนไลน์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณ
3. บริการในกลุ่ม Google Tools
 Blogger : เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือสำหรับสร้าง Blogger ของคุณเอง
 Code : เครื่องมือสำหรับดาวน์โหลด APls และ Source code
 Desktop : เครื่องมือสำหรับช่วยค้นหาไฟล์และข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
 Earth : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถค้นหาแผนที่โลกจากดาวเทียม
 Gmail : บริการอีเมล์รุ่นทดสอบของ Google ที่มีความจุกว่า 2.6 กิกะไบต์
 Pack : ชุดเครื่องมือรวมฮิตของ Google รวมถึงบราวเซอร์สุดเก่ง
 Firetox Picasa : เครื่องมือสำหรับการบริหารและจัดการรูปภาพทั้งหมดที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์
 Local for Mobile : เครื่องมือสำหรับค้นหาแผนที่ของสถานที่ต่าง ๆ บนโทรศัพท์มือถือ
 Talk : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถพูดคุย ส่งอีเมล์กับเพื่อนของคุณแบบเรียลไทม์ออนไลน์
 Toobar : กล่องเครื่องมือที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลได้โดยตรง โดยไม่ต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ของ Google
 Translate : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถดูเว็บไซต์ได้หลาย ๆ ภาษา
 Labs : กลุ่มของชุดเครื่องมือใหม่ ๆ ของ Google ที่คุณสามารถเข้าไปทดลองดาวน์โหลดได้ฟรี
การใช้คุณประโยชน์ของ Google Search Bar อย่างมีประสิทธิภาพอย่างผู้เชี่ยวชาญ
การค้นหาสิ่งมากมายบน Google ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำด้วยเคล็ดลับพิเศษแบบฉบับผู้เชี่ยวชาญในชีวิต Life Stream ของเหล่า นักพัฒนาและผู้เสพสื่อแบบเราๆชาว IT ก็คงจะผ่านตา Google ที่เรารู้จักในนามตัวแทนแห่งเครื่องมือการค้นหาที่มีประสิทธิภาพที่สุด เราสามารถแสดงวิธีค้นหาข้อมูลที่คุณต้องการแบบทันทีทันใดผ่านเครื่องมือค้นหาตัวนี้ ตั้งแต่ ข้อมูลภาพยนต์ เพลงหรือ ศิลปินที่เรา อยากจะค้นหา และยังมีเรื่องง่ายๆกับข้อมูลที่เก่าเก็บด้วยการกดดู Cache ของ Google เพื่อดูเนื้อหาที่ผ่านมาแล้วหลายปี






และนี่คือเทคนิคมากมายที่น่าจะต้องเรียนรู้ไว้เพื่อการค้นหาอะไรๆก็ได้ อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
 ใช้ Google Search Bar บน Browser เป็นเหมือน พจนานุกรม ง่ายๆเลย ค้นหาคำจำกัดความสำหรับคำที่เราต้องการ หาความหมายของคำนั้นๆ หรือ "Keyword" นั้นๆ นอกจากนี้วิธียังมีคุณประโยชน์หากคุณไม่แน่ใจว่าการสะกดคำ ของเจ้า "Keyword" นั้นๆถูกหรือไม่
 ใช้ Google ตรวจสอบเวลาในประเทศอื่นๆ Google สามารถบอกคุณได้ถึงเวลาประเทศอื่นจาก Google Search Bar เช่น 'time Tokyo' จะเห็นเวลาที่อยู่ในโตเกียว
 Google สามารถบอกอัตราต่างๆได้ หากคุณต้องการค้นหาอย่างเร่งรีบกับ วิธีการแปลงสกุลเงิน,น้ำหนักและมาตรฐาน อื่นๆ แน่นอน Google ทำได้


 Google เป็นเครื่องคิดเลข Google Searc Bar ของคุณเป็นมากยิ่งกว่าในแอปพลิเคชันเครื่องคิดเลขที่มาพร้อมกับ Windowsซะอีก ลอง search คำว่า "845+62+31)/5" ดูสิคุณจะทราบผลลัพธ์ ของมันทันที นอกจากนี้ยังคำนวณเปอร์เซ็นต์ ต่างๆได้ด้วย
 Google สามารถค้นหา MP3 และเพลงฟรีออนไลน์ได้ เข้าใจว่าข้อนี้พวกคุณเข้าใจถ่องแท้เลยล่ะ แต่ใครจะไปรู้ล่ะว่า Google มี algorithm ในการ Search หาเพลง mp3 ที่คุณต้องการนี่คือสิ่งที่คุณต้องพิมพ์ "ชื่อศิลปิน" สำหรับศิลปินที่คุณสนใจ:-inurl: (htm | html ที่ | PHP) ในช่อง ค้นหา



(ศึกษากรณีศึกษาการจัดนวัตกรรมและสารสนเทศในสถานศึกษา)
1. การจัดการ
คูนตซ์ และไซริล (Koontz and Cyril. 1972 : 43) ให้ความหมายว่า การจัดการ หมายถึง การดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุสิ่งของซึ่งนับว่าเป็นอุปกรณ์ของการจัดการนั้น ๆ
เดล (Dale. 1968 : 43) ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการ คือ กระบวนการจัดหน่วยงานและการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
สมคิด บางโม (2538 : 61) มีความเห็นว่า การจัดการเป็นศิลปะในการใช้คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ของหน่วยงานและนอกหน่วยงาน เพื่อให้หน่วยงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงสรุปไว้ว่า การจัดการ หมายถึง ศิลปะการใช้บุคลากรปฏิบัติงานในหน่วยงาน โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน คือ คน เงิน และวัสดุอุปกรณ์ การจัดการเป็นการดำเนินงานของกลุ่มบุคคล
2. การบริหาร
คำว่า “การบริหาร” (Administration) ใช้ในความหมายกว้าง ๆ เช่น การบริหารราชการ อีกคำหนึ่ง คือ “ การจัดการ” (Management) ใช้แทนกันได้กับคำว่า การบริหาร ส่วนมาก หมายถึง การจัดการทางธุรกิจมากกว่าโดยมีหลายท่านได้ระบุดังนี้
Peter F Drucker : คือ ศิลปะในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542 : 2)
Herbert A. Simon :กล่าวว่าคือ กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมมือกันดำเนินการให้บรรลุวัถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 2)
การบริหาร หมายถึง ศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็น ผลสำเร็จ กล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช้เป็นผู้ปฏิบัติ แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว (Simon)
การบริหาร คือ กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (Sergiovanni)
การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่รวมปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Barnard)
การบริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกันกำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบและให้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม (สมศักดิ์ คงเที่ยง , 2542 : 1)
3. นวัตกรรม
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovate ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่าเป็นการนำวิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
4. เทคโนโลยีการศึกษา
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2526) ได้ให้นิยามไว้ว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" เป็นระบบการประยุกต์ผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ วัสดุ และผลิตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ อุปกรณ์โดยยึดหลักการทางพฤติกรรมศาสตร์ ได้แก่ วิธีการ มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษา ทั้งด้านการบริหาร หรืออีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยีการศึกษา เป็นระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการศึกษาให้สูงขึ้น
สันทัด และ พิมพ์ใจ (2525) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้แนวความคิด กระบวนการ ตลอดจนวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ
คาร์เตอร์ วี กูด (Carter V.Good, 1973) ได้กล่าวว่า " เทคโนโลยีการศึกษา " หมายถึงการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อการออกแบบ และส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน มากกว่าที่จะยึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติ โดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่างๆ ในลักษณะของสื่อประสม และการศึกษาด้วยตนเอง
กิดานันท์ (2543) ได้ให้ความหมาย ของ เทคโนโลยีการศึกษา ว่า เป็นการประยุกต์เอา เทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งต่างๆ อันสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษา
คณะกรรมการกำหนดศัพท์และความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของสหรัฐอเมริกา (AECT, 1979) อธิบายว่า " เทคโนโลยีการศึกษา " (Educational Technology)เป็นกระบวนการที่มีการบูรณาการอย่างซับซ้อน เกี่ยวกับบุคคล กรรมวิธี แนวคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา สร้าง ประยุกต์ใช้ ประเมินผล และจัดการแก้ปัญหาต่างๆ ดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในทุกลักษณะ หรืออาจกล่าวได้ว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" และขั้นตอนการแก้ปัญหาต่างๆ จะอยู่ในรวมถึงแหล่งการเรียนรู้ที่ได้มีการออกแบบ เลือก และนำมาใช้เพื่อใช้ เพื่อมุ่งสู่จุดมุ่งหมาย คือ การเรียนรู้ นั่นเอง

5. การสื่อสาร (Communication)
การสื่อสาร หมายถึง การติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งทำให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และ เกิดการตอบสนอง ปัจจุบันการสื่อสารมีมากมายหลายวิธี อาจเป็น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ระบบโทรคมนาคม หรือ การสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินเตอร์เน็ท ก็ได้
องค์ประกอบของการสื่อสาร มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้
1. ผู้ส่งสาร (Sender) คือบุคคล หน่วยงานที่เป็นผู้ส่งสาร แหล่งกำเนิดสาร แล้วส่งสารไปยังบุคคลหรือหน่วยงานอื่นด้วยวิธีเดียว หรือหลายวิธี
2. สาร (Message) คือ เรื่องราว สิ่งต่าง ๆ ในรูปข้อมูล ความรู้ ความคิด หรืออารมณ์ที่ผู้ส่งสารให้ผู้อื่นรับรู้ แล้วเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง ประกอบด้วย
2.1 รหัสสาร ทั้งที่ไม่ใช้ถ้วยคำ (กิริยา ท่าทาง เครื่องหมาย) และใช้ถ้อยคำ (ภาษาพูด ภาษาเขียน)
2.2 เนื้อหาสาร แบ่งเป็น ข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น
2.3 การจัดสาร คือ รวบรวมเนื้อหา เรียบเรียงด้วยการใช้รหัสของสารที่เหมาะสม
3. สื่อหรือช่องทาง (Medium or Channal)
สื่อ หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะที่ทำให้สารเคลื่อนที่ออกไปจากตัวผู้ส่งสาร
ช่องทาง หมายถึง ทางที่ทำให้ผู้ส่งสาร และผู้รับสารติดต่อกันได้
4. ผู้รับสาร (Receiver) คือ ผลที่เกิดจากการรับสารทางพฤติกรรม เช่น หัวเราะ พอใจ ทำให้ทราบถึงความสำเร็จของการสื่อสาร


6. ระบบเครือข่าย( Network)
ระบบเครือข่าย ( Network : เน็ตเวิร์ค ) หมายถึง ระบบที่เกิดจากการนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง มาต่อเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือใช้ทรัพยากรต่างๆ ได้แก่ เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ฯลฯ ร่วมกัน
โดยทั่วไปแล้วเรามักจะจัดแบ่ง ระบบเครือข่าย (Network) ออกตามขนาดเป็น 2 ประเภท คือ
1. LAN ( Local Area Network ) หมายถึง ระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดซึ่งถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันนั้น อยู่ห่างกันไม่เกิน 5 กิโลเมตร ระบบเครือข่ายประเภทนี้ มักเป็นที่นิยมใช้ ในบริษัทหรือองค์กรขนาดเล็ก ทั้งนี้เนื่องจากใช้งบประมาณในการสร้างและดูแลรักษาน้อย
2. WAN ( Wide Area Network ) หมายถึง ระบบเครือข่าย ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันนั้นอยู่ห่างกันมากกว่า 5 กิโลเมตร โดยเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้น อาจจะอยู่กันคนละเมืองหรือคนละประเทศเลยก็ได้ ระบบเครือข่ายประเภทนี้มักจะใช้กับบริษัทหรือองค์กรที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับสาขาย่อย หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่ายของธนาคารต่างๆ ระบบเครือข่าย Internet เป็นต้น
7. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
8. ข้อมูล
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไพโรจน์ คชชา, 2542)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525) ให้ความหมายของ ข้อมูล(Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือ การคำนวณ
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่อยู่ในรูปของตัวเลขหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการประมวลข้อมูล (มนตรี ดวงจิโน, 2546)
ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น บุคคล สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลต้องถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วนขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล
ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับโปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี 5 ประเภท คือ ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ข้อมูลภาพ (Images Data) และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)
" กล่าวโดยสรุป ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล"
9. สารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน (ไพโรจน์ คชชา, 2542)
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ความรู้หรือข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รับการประมวลแล้วและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (มนตรี ดวงจิโน, 2546)
วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542) ได้ให้ความหมาย สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป ซึ่งสารสนเทศมีประโยชน์ คือ
1. ให้ความรู้
2. ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
3. ทำให้เห็นสภาพปัญหา สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ
4. สามารถประเมินค่าได้
" กล่าวโดยสรุป สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้"
10. ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ กระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งทำให้เป็นสารสนเทศ การจัดเก็บและการนำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์
วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542) ได้ให้ความหมายของ ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูลตังต่อไปนี้
1. รวบรวมข้อมูลทั้งภายใน ภายนอก ซึ่งจำเป็นต่อหน่วยงาน
2. จัดกระทำเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ได้
3. จัดให้มีระบบเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้
4. มีการปรับปรุงข้อมูลเสมอ เพื่อให้อยู่ในภาพที่ถูกต้องทันสมัย
ขบวนการที่ทำให้เกิดสารสนเทศเรียกว่า “การประมวลผลสารสนเทศ” (Information Processing) และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ” (Information Technology : IT)


ภาพประกอบการเปลี่ยนรูปจากข้อมูลสู่สารสนเทศโดยผ่านการประมวลผลสารสนเทศ
(วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา. 2542 : 148)



แหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศ
1. ข้อมูลภายใน หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น ได้แก่ ข้อมูล การปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลงานบุคลากร ข้อมูลงานกิจการนักเรียน
2. ข้อมูลภายนอก หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นนอกองค์กร ข้อมูลหน่วยงานอื่นๆ
ประโยชน์ของสารสนเทศ
1. ให้ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน
แนวทางในการจัดทำระบบสารสนเทศ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
2. การตรวจสอบข้อมูล
3. การประมวลผล
4. การจัดเก็บข้อมูล
5. การวิเคราะห์
6. การนำไปใช้
11. ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร


ความสำคัญ

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552